แนะนำ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
แนะนำ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต โดยห้องพักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต: COLLEGE OF ENGINEERING | B.EngCOLLEGE OF ENGINEERING | B.Eng
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์
ระดับปริญญาตรี
•
วิศวกรรมเครื่องกล
ทำหน้าที่ผลิตวิศวกเครื่องกลเพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
โดยหลักสูตรจะสนับสนุนให้บัณฑิตมีความสามารถทั้งด้านวิชาการและบริหารจัดการที่ใช้การวิจัยและพัฒนางานอย่างเป็นระบบในระหว่างการศึกษาได้มุ่งเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติทำการทดลอง
การวางแผน ออกแบบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างให้มีขีf ความสามารถในการพัฒนางานและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
และสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว
หลักสูตรแบ่งออกเป็น
2 แขนงวิชาย่อย คือ
แขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ที่เน้นทางวิศวกรรมเครื่องกลทั้งพื้นฐานและชั้นสูง
แขนงวิชาวิศวกรรมพลังงาน ที่เน้นพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล
และด้านพลังงานชั้นสูง
แนวทางการประกอบอาชีพ
-
งานควบคุมในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น วัสดุก่อสร้าง อาหาร เชื้อเพลิง เครื่องนุ่มห่ม
เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์ รถยนต์ ฯลฯ
-
ออกแบบจัดสร้าง ควบคุม ทดสอบ และบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
•
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมยานยนต์เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ผสมผสานวิศวกรรมหลายแขนง
โดยอาศัยพื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกลร่วมกับทฤษฎีต่างๆด้านยานยนต์
ในหลักสูตรจะศึกษาภาคทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการทำงานและระบบควบคุมต่างๆ ภายในยานยนต์
พลศาสตร์สำหรับยานยนต์ อากาศพลศาสตร์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน
การเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ กระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิต
การบริหารจัดการในอุตสาหกรรมยานยนต์และศูนย์บริการยานยนต์
ตลอดจนเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่
เพื่อตอบสนองการพัฒนายานยนต์ทีมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะ ความปลอดภัย
ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้นักศึกษาจะได้ฝึกภาคปฏิบัติเกี่ยวกับระบบยานยนต์พื้นฐาน
ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การทดสอบเครื่องยนต์
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต (CAD&CAM) และการทัศนศึกษาดูงานอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์
แนวทางประกอบอาชีพ
-
วิศวกรในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตยางรถยนต์เป็นต้น
-
วิศวกรออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์
-
วิศวกรทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
-
องค์กรธุรกิจ งานวิศวกรรมและหน่วยงานราชการ
-
ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ศูนย์บริการยานยนต์
-
วิศวกรประเมินความเสียหายในบริษัทประกันภัย
•
วิศวกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน
เป็นหลักสูตรเพื่อให้วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานสามารถดูแลบำรุงรักษาอากาศยาน
โดยใช้ทักษะเชิงช่างในการดำเนินการซ่อมบำรุงอากาศยานอย่างเป็นขั้นตอนตามหลักการที่ถูกต้องภายในระยะเวลาที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมุ่งเน้นการศึกษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านโครงสร้าง (Airframe) และเครื่องยนต์ต้นกำลัง
(Power plant) รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาตนเองให้ทันกับการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีด้านการบิน
หลักสูตรได้เพิ่มเนื้อหาขององค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในระบบต่างๆที่ใช้ในอากาศยานในปัจจุบัน
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการขั้นสูงในระบบต่างๆทั้งในเครื่องบินเชิงพาณิชย์และส่วนบุคคล
ตลอดจนมุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้วยการฝึกปฏิบัติงานจริง
หลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรแรกและเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่ผสมผสานการเรียนการสอนระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิตกับสถาบันเทคโนโลยีการบินมาเลเซียน
(Malaysian Institute of Aviation Technology) ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอนจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
(ICAO-International Civil Aviation Organization) และกรมการบินพลเรือนประเทศมาเลเซีย
•
วิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการวิศวกรรมอุตสาหการ
เป็นสาขาวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในอุตสาหกรรม
ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผังโรงงาน การวางแผนการผลิต
และการควบคุมกระบวนการผลิตทุกกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยต้นทุนต่ำที่สุด
หัวใจสำคัญในการศึกษาคือ
การเรียนรู้ การจัดตั้งระบบผสมผสานระหว่างคน เงิน
วัสดุและเครื่องจักรอุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธ์ภาพสูงสุด
เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้อยู่เสมอ ซึ้งในการนี้
จะต้องใช้ความชำนาญทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และสังคมศาสตร์ร่วมกันไป
โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาออกแบบ ระบุ ทำนาย
และประเมินผลการทำงานของระบบดังกล่าว
แนวทางในการประกอบอาชีพ
-
วิศวกรฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์(Product design Engineer)
-
วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา(R&D Engineer
-
วิศวกรวางผังโรงงาน (Plant design Engineer)
-
วิศวกรฝ่ายผลิต (Production Engineer)
-
วิศวกรโครงการ(Project
Engineer)
-
วิศวกรฝ่ายวางแผน (Planning Engineer)
-
วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ(QA/QC Engineer)
-
วิศวกรอุปกรณ์และโครงสร้างการผลิต (Facility Engineer)
-
ผู้จัดการโรงงาน(Plant Manager)
-
ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆผลงานนักศึกษาและอาจารย์
-
การจัดเส้นทางการขนส่งน้ำอัดลม
-
การออกแบบและสร้างเครื่องยกฝาบ่อและดึงสายเคเบิ้ลโทรศัพท์
-
การปรับปรุงคุณภาพสายการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์
-
การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวัดอัตราประสิทธ์ภาพการใช้เครื่องจักร
-
การผลิตชิ้นงานด้วยเทคโนโลยี CAD/CAM/CNC
-
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองการให้บริการสนามบินนานาชาติ เป็นต้น
•
วิศวกรรมไฟฟ้า (กำลัง สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
เป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมและความเจริญมั่นคงของประเทศ แบ่งหลักสูตรเป็น 3 แขนงวิชา คือ
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
มุ่งเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้ากำลัง
การออกแบบสถานีจ่ายไฟฟ้า การกำเนิดและการควบคุมพลังงานไฟฟ้า
การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ
บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
จะสามารถออกแบบระบบไฟฟ้าในหน่วยงานต่างๆ
รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อให้การบริหารจัดการ การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานเป็นวิศวกรออกแบบและควบคุมการให้บริการผลิตจำหน่ายไฟฟ้า
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสายอากาศ
การสื่อสารข้อมูลและโครงข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารไร้สาย
การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง การสื่อสารดาวเทียม ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบการสื่อสารไมโครเวฟ และระบบสายสื่อสัญญาณ
แนวทางการประกอบอาชีพ
บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
จะสามารถออกแบบและดูแลระบบสื่อสารโทรคมนาคม ออกแบบสายอากาศชนิดต่างๆ
ออกแบบและดูแลระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบสื่อสารไมโครเวฟ เป็นต้น
แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ระบบควบคุมด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์
แนวทางการประกอบอาชีพ
บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
จะสามารถเลือกประกอบอาชีพ ในอุตสาหกรรมต่างๆได้หลากหลาย
เช่นอุตสาหกรรมผลิตและประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
•
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ศึกษาออกแบบและพัฒนาทั้งระบบฮาร์ดแวร์
และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ออกแบบและวิเคราะห์วงจรที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม
ออกแบบหน่วยประมวลผลกลาง หรือวงจรรวมเพื่อทำงานเฉพาะด้าน ศึกษาระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
และปฏิบัติจริงทางด้านระบบโครงข่ายข้อมูล อาทิการออกแบบ การสร้าง
การควบคุมและการจัดการทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์บนระบบโครงข่าย
แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศกรออกแบบวงจรรวม, วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโครงข่าย, วิศวกรดูแลและพัฒนาระบบโครงข่าย, นักเขียนโปรแกรมประยุกต์, นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร, วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ
• วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมี
เป็นสาขาวิชาชีพที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์
รวมถึงการใช้พลังงานกับการเปลี่ยนวัตถุดิบหรือเคมีภัณฑ์ในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทำหน้าที่วางแผนออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ
ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิตในโรงงาน
ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ที่จบการศึกษาด้านนี้สามารถประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บริษัทปตท.
เคมีคอล จำกัด (มหาชน) บริษัทกระจกไทยอาซาฮี จำกัด และ บริษัทไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์
จำกัด เป็นต้น
แนวทางประกอบอาชีพ
- งานด้านการปฏิบัติการการผลิต
วิเคราะห์กระบวนการผลิต
เพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิตในโรงงาน
- งานด้านการคำนวณและการออกแบบกระบวนการผลิต
(Process Engineer) การออกแบบและการจำลองแบบทางวิศวกรรมเคมีเพื่อการก่อสร้างใหม่ ซ่อมแซม
ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งเดิมของหน่วยปฏิบัติการ
- งานด้านการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการจัดการทางด้านการดำเนินการผลิต (Production
Engineer) การออกแบบระบบของการควบคุมกระบวนการ
- งานด้านวิศวกรรมโครงการ
(Project Engineering) การวางแผนโครงการในส่วนของวิศวกรรมเคมี และบริหารควบคุมการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือต่อเติม
หน่วยปฏิบัติการ
- งานด้านการให้คำปรึกษา
การแก้ปัญหา การตรวจสอบวินิจฉัย การบริการทาง
เทคนิคของหน่วยปฏิบัติการและระบบกระบวนการผลิต
- งานด้านการวิจัยและพัฒนา
การค้นคว้า สืบค้น
ทดสอบสมมติฐานหรือข้อมูลทางสถิติของกระบวนการหรือระบบทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
เคมี ทดสอบกระบวนการผลิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
- งานด้านการวิเคราะห์และทดสอบ
การวัด การวิเคราะห์ และทดสอบในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับคุณภาพของวัตถุดิบ
ผลิตภัณฑ์ และวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
- งานด้านการควบคุมดูแลความปลอดภัย
และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงงาน การควบคุมและพัฒนามาตรการ
อุปกรณ์สำหรับความปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ภัยอันตรายของสารเคมี
ของเสียทางเคมี รวมถึงการทำแผนฉุกเฉินด้านความปลอดภัย
• วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมโยธา
(Civil Engineering) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้างทั้งหมด
มีขอบข่ายงานตั้งแต่การออกแบบ การควบคุมงาน การก่อสร้าง
การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ประกอบด้วยหลายสาขา ได้แก่ วิศวกรรมโครงสร้าง
วิศวกรรมปฐพีและฐานราก วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมขนส่งและจราจร
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง
•
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2540 และเป็นสาขา
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน
ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ
มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม
ปัจจุบันได้มีการกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งสังคมไทยยังมีความต้องการวิศวกรสิ่งแวดล้อมอีกจำนวนมากเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย
การเรียนรู้ด้านการออกแบบระบบผลิตน้ำประปา ระบบท่ออาคาร
ระบบท่อระบายน้ำเสียและท่อระบายน้ำฝน ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ระบบบำบัดมลพิษอากาศและเสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม
และวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่ถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย
แนวทางประกอบอาชีพ
-
วิศวกรสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมสิ่งแวดล้อมของทางราชการ
-
วิศวกรสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ
-
วิศวกรสิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษา บริษัทก่อสร้างและบริษัทเอกชนต่าง
ๆ
-
วิศวกรสิ่งแวดล้อมอิสระ
________________________________________________________________________
สำหรับผู้ที่สนใจจองห้องพัก
สามารถติดต่อสำรองห้องพักได้ที่ได้ที่
เบอร์ 02-102-4532 หรือ 02-102-4533 หรือ 064-980-0523
Line : @tripletreeshotel
เส้นทางเดินทางมาที่พัก Triple Trees โดย Google map : https://goo.gl/FFyJ4W
ที่อยู่ : ถนนไสวประชาราษฎร์ 35 ซอยร่วมสุข 9 ลาดสวาย ลำลูกกา ปทุมธานี
รับชมเว็บไซต์เพิ่มเติมที่ http://www.tripletreeshotel.com
Facebook :
https://www.facebook.com/tripletreeshotel/
instagram :
https://www.instagram.com/tripletreeshotel/
คีย์เวิร์ด: โรงแรมใกล้สนามบินดอนเมือง, ห้องพักรายวันรังสิต, โรงแรมแถวดอนเมือง, ที่พักใกล้สนามบินดอนเมือง,
โรงแรมดอนเมือง, ที่พักดอนเมือง,
โรงแรมแถวรังสิต, โรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต,
ที่พักใกล้ธรรมศาสตร์รังสิต, ห้องพักรายวันรังสิต,
โรงแรมปทุมธานี, ที่พักปทุมธานี, ห้องพักรายวันปทุมธานี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น