แนะนำ วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต


แนะนำ วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต  โดยห้องพักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต : COLLEGE OF AGRICULTURAL INNOVATION BIOTECHNOLOGY AND FOOD

คณะนวัตกรรมเกษตร : FACULTY OF AGRICULTURAL INNOVATION
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเกษตร
นวัตกรรมเกษตร คือ การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล โดยใช้ข้อมูลของต้นพืช สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการตัดสินใจปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาต้นพืชอย่างพอเหมาะ รวมถึงการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพเอาไว้ให้นานที่สุด

ความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตผลิตผลเกษตรที่สำคัญของโลก แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรของไทยยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน ขณะเดียวกันจำนวนประชากรที่สูงขึ้น ชุมชนเมืองที่ขยายตัว พื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากปัญหาโลกร้อน รวมทั้งความต้องการผลิตผลเกษตรเพื่อแปลงเป็นพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรรมแบบดั้งเดิมยิ่งไม่สามารถให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการได้ และความพยายามในการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีเดิมๆ กลับทำให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ จากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น นอกจากนี้ผลิตผลเกษตรจำนวนมากยังคงสูญเสียไปตั้งแต่เก็บเกี่ยวตลอดเส้นทางไปสู่ผู้บริโภคหรือสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีพอ นวัตกรรมเกษตรจึงเป็นศาสตร์ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรกรรมในเมือง และเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมไปถึงการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร นวัตกรรมเกษตรจึงเป็นเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นและถือว่าเป็นเกษตรกรรมของอนาคตอย่างแท้จริง นวัตกรรมเกษตรจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป

หลักสูตร
ระบบการศึกษา: ทวิภาค (2 ภาคการศึกษาต่อปี)
ระยะเวลาการศึกษา: 4   ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม: 129   หน่วยกิต
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร: ประมาณ   362,050   บาท

จุดเด่น
-          เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศที่เน้นด้านนวัตกรรมเกษตร โดยเฉพาะเรื่องการเกษตรแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ
-          มีแปลงปลูกและโรงเรือนที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัด ระบบสื่อสารและโครงข่ายข้อมูล ระบบสารสนเทศและประมวลผล ที่ทันสมัยครบวงจร ที่จำลองมาจากฟาร์มอัจฉริยะจริง เพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะการทำเกษตรกรรมแบบแม่นยำสูง
-          มีเรือนกระจก (greenhouse) เรือนเพาะชำ (nursery) โรงเรือนปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน และอาคารปลูกพืชในแนวตั้ง (vertical farming) เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรกรรมในอนาคต
-          เป็นศูนย์กลางบูรณาการนวัตกรรมด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่คิดค้น พัฒนาและวิจัย เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำมาใช้งานในสภาพฟาร์มจริง เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล เชียงใหม่ และลาดกระบัง
-          เป็นต้นแบบฟาร์มอัจฉริยะให้เกษตรกรทั้งในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน

แนวทางการประกอบอาชีพ
-          เกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปลูกพืช โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เป็นเครื่องมือ
-          ผู้จัดการฟาร์มอัจฉริยะ (smart farm manager) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแลการปลูกพืชและการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในฟาร์มเกษตรอัจฉริยะหรือฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ
-          นักวิชาการหรือที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (smart farm advisor) ในบริษัทธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ออกแบบ เลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และดำเนินการสร้างฟาร์มเกษตรอัจฉริยะและฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ
-          นักวิชาการด้านการจัดการผลิตผลเกษตร ในบริษัทธุรกิจเกษตร ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมดูแล การบรรจุหีบห่อ เก็บรักษา ขนส่ง ซื้อขาย หรือนำเข้าส่งออก ผลิตผลเกษตร
-          ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ในบริษัทธุรกิจการบริการทางการเกษตร
-          เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตรหรือบริษัทธุรกิจเกษตรทุกประเภท
-          นักวิชาการในหน่วยราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ฯลฯ
-          นักวิจัยในหน่วยวิจัย เช่น วว. NECTEC ฯลฯ


           
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ: FACULTY OF BIOTECHNOLOGY
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ ศาสตร์ในเชิงชีววิทยาประยุกต์ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคและกระบวนการต่างๆ เพื่อนำสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตั้งแต่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตทั้งดีเอ็นเอ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะของพืชหรือสัตว์ ตลอดจนผลิตผลของสิ่งมีชีวิต มาใช้ในการสร้างหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เฉพาะด้านทั้งต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโลกตามที่มนุษย์ต้องการ

ความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย อุตสาหกรรมเกษตรทั้งอาหารและที่ไม่ใช่อาหารซึ่งใช้ผลิตผลเกษตรเป็นวัตถุดิบ จึงเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ดังนั้นการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจึงเป็นหนทางสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มโอกาสการแข่งขันของประเทศไทยกับนานาประเทศทั่วโลกได้ เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ชีววิทยาดั้งเดิมเข้ากับความรู้ด้านอื่นทั้งฟิสิกส์และเคมี วิศวกรรมและเทคโนโลยี เภสัชศาสตร์และแพทยศาสตร์ จนได้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยขึ้นจำนวนมากและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายทั้งด้านการเกษตร อาหาร วัสดุพลังงาน สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ จึงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ให้เข้ากันกับแนวโน้มของโลกยุคปัจจุบันและอนาคต โดยมีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้ผลผลิตสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง มีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์มากขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การศึกษา ค้นคว้า วิจัย และกิจกรรมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคราชการ จึงเป็นแหล่งกำเนิดและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะป้อนให้กับภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นต้นทางของผลิตผลเกษตรและภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นปลายทางของผลิตผลเกษตร เพื่อนำไปใช้และก่อให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบในที่สุด

หลักสูตร
ระบบการศึกษา: ทวิภาค (2 ภาคการศึกษาต่อปี)
ระยะเวลาการศึกษา: 4   ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม: 134   หน่วยกิต
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร: ประมาณ   387,750   บาท

จุดเด่น
-          เน้นฝึกปฏิบัติการและดูงานภาคสนามในสถานที่จริง นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
-          มีห้องปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา พันธุวิศวกรรม เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช พลังงานชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และการจัดการของเสีย รวมทั้งมีโรงงานต้นแบบที่จำลองจากโรงงานอุตสาหกรรมจริงที่ใช้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มหมัก เพื่อลงมือฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
-          ส่งเสริมให้ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองด้วยวิธีการสอนแบบ Problem base และ Research base
-          เปิดโอกาสให้ฝึกงานระยะสั้นในต่างประเทศ โดยความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ เช่น Harbin Institute of Technology (HIT) ประเทศจีน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านพันธุวิศวกรรม National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านเทคโนโลยีการเกษตร

แนวทางการประกอบอาชีพ
1. นักเทคโนโลยีชีวภาพ ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพทุกแห่ง ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร โดยทำหน้าที่ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ หรือฝ่ายวิจัยและพัฒนา เช่น
-          อาหารหมัก เช่น โยเกิร์ต ชีส กิมจิ ผักดอง ผลไม้ดอง วุ้นมะพร้าว
-          เครื่องดื่มหมัก เช่น นมเปรี้ยว น้ำส้มสายชูหมัก ไวน์ เบียร์ สาโท ฯลฯ
-          เครื่องปรุงรสหมัก เช่น ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ น้ำปลา ผงชูรส ฯลฯ
-          ส่วนผสมที่ใช้ผลิตอาหาร เช่น หัวเชื้อจุลินทรีย์ เอนไซม์ กรดอินทรีย์ ฯลฯ
-          สารสกัด/สารออกฤทธิ์ชีวภาพ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ ไฟโตสเตอรอล พรีไบโอติก เบต้าแคโรทีน สารสกัดจากพืช ฯลฯ
-          พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอเอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพ น้ำมันสาหร่าย ฯลฯ
-          วัสดุชีวภาพ เช่น กระดาษ พลาสติกย่อยสลายได้ ไบโอพลาสติก
-          ยา ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและสุขภาพ
2. นักเทคโนโลยีชีวภาพ ในธุรกิจเกษตร เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ฯลฯ
3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ในโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง โดยทำหน้าที่ดูแลการตรวจวิเคราะห์ บำบัด กำจัด และจัดการของเสีย/น้ำเสีย
4. เจ้าหน้าที่ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น
-          การบำบัดของเสีย บำบัดมลพิษ ใช้ประโยชน์จากของเสีย ด้วยวิธีชีวภาพ
-          การตรวจวิเคราะห์ขั้นสูงที่ใช้เทคนิคทางดีเอ็นเอ เอนไซม์ หรือแอนติบอดี้
-          การผลิต/ขายอุปกรณ์หรือชุดตรวจวิเคราะห์ทางชีวภาพ
-          การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ
5. นักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรืออาจารย์ ในหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจ เช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มหาวิทยาลัยต่างๆ
6. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว

คณะเทคโนโลยีอาหาร: FACULTY OF FOOD TECHNOLOGY
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร
เทคโนโลยีอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร คือ ศาสตร์ที่นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพ (ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์) และวิศวกรรมศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิต) มาเป็นพื้นฐาน เพื่อศึกษาธรรมชาติของอาหาร เช่น โครงสร้างภายใน สารที่มีคุณค่า การเน่าเสีย และเพื่อใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการถนอมและแปรรูปอาหารในระดับอุตสาหกรรม เทคโนโลยีอาหารไม่ใช่คหกรรมศาสตร์ นักเทคโนโลยีอาหารไม่ใช่พ่อครัวแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์

หลักสูตร
ระบบการศึกษา: ทวิภาค (2 ภาคการศึกษาต่อปี)
ระยะเวลาการศึกษา: 4   ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม: 134   หน่วยกิต
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร: ประมาณ   393,750   บาท

จุดเด่น
-          มีโรงงานต้นแบบ ที่ย่อส่วนจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารหลายๆ ประเภทมาไว้ในที่เดียวกัน โดยมีการออกแบบอย่างถูกหลักสุขลักษณะและใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยไม่ต่างจากโรงงานผลิตอาหารจริง รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เพื่อลงมือปฏิบัติในสภาพเหมือนจริง สร้างทักษะและความคุ้นเคย ช่วยลดภาระผู้ประกอบการในการฝึกบัณฑิตที่จบให้ทำงานได้ และยังใช้ประกอบอาชีพอิสระหรือเปิดกิจการของตัวเองได้
-          ได้ฝึกงานหรือเข้าโครงการสหกิจศึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์การทำงานจริงจากภาคเอกชน
-          เปิดโอกาสให้ฝึกงานระยะสั้นในต่างประเทศ โดยความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ เช่น Toyo College of Food Technology ประเทศญี่ปุ่น National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ประเทศไต้หวัน
-          เปิดโอกาสให้ทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติและการรู้จักคิดแก้ปัญหา
-          เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเข้ากับเทคโนโลยีอาหาร โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหมัก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย

แนวทางการประกอบอาชีพ
·       นักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยีอาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทุกแห่ง โดยทำหน้าที่ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายควบคุม/ประกันคุณภาพ หรือฝ่ายวิจัยและพัฒนา
·       เจ้าหน้าที่ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
-          การแปรรูปสินค้าเกษตรเบื้องต้น
-          การผลิต/ขายส่วนประกอบหรือส่วนผสมในอาหาร
-          การผลิต/ขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
-          การตรวจวิเคราะห์อาหาร
-          การตรวจรับรองระบบคุณภาพหรือความปลอดภัยของอาหาร
-          การผลิต/ขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ผลิตอาหาร
-          การจัดเก็บและขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร
-          การนำเข้า/ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร
-          การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
·       ข้าราชการในหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สถาบันอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นต้น
·       อาจารย์หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัย สถานศึกษา หรือหน่วยงานวิจัยต่างๆ
·       นักโภชนาการหรือเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือการส่งเสริมและดูแลรักษาสุขภาพ
·       ธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร



มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งอยู่เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โดยจะมีห้องพักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต โรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต และห้างสรรพสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจเข้าศึกษา
_____________________________________________________________________________________
สำหรับผู้ที่สนใจจองห้องพักหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถติดต่อได้ที่ 02-102-4532 หรือ 02-102-4533 หรือ 064-980-0523
Line : @tripletreeshotel
คลิกเพื่อแอดไลน์  : http://line.me/ti/p/~@tripletreeshotel

รับชมเว็บไซต์เพิ่มเติมที่ http://www.tripletreeshotel.com

Facebook : https://www.facebook.com/tripletreeshotel/
คลิกเพื่อ Chat Inbox  : https://m.me/tripletreeshotel

instagram : https://www.instagram.com/tripletreeshotel/

เส้นทางเดินทางมาที่พัก Triple Trees
Google map : https://goo.gl/FFyJ4W

ถนนไสวประชาราษฎร์ 35 ซอยร่วมสุข 9 ลาดสวาย ลำลูกกา ปทุมธานี

คีย์เวิร์ด: ห้องพักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต, ห้องพักแถวมหาวิทยาลัยรังสิต, โรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต, โรงแรมแถวมหาวิทยาลัยรังสิต, ที่พักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต, ที่พักแถวมหาวิทยาลัยรังสิต, หอพักใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต, หอพักแถวมหาวิทยาลัยรังสิต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รัฐศาสตร์

ประวัติมหาวิทยาลัยรังสิต